เทศกาลขนมจ้าง (บะจ่าง) (端午节) เทศกาลขนมจ้าง (บะจ่าง) (端午节) เทศกาลขนมจ้าง (บะจ่าง) (端午节)

 

                ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 (ตามปฏิทินจันทรคติ) เนื่องมาจากว่าช่วงเดือนห้าอยู่ในระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ทำให้มีอากาศค่อนข้างร้อนผู้คนจึงไม่สบายกันได้ง่ายมาก ดังนั้น เดือนห้าจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เดือนพิษ” หรือ “เดือนแห่งความเลวร้าย” เพราะเหตุนี้ในเดือนห้าจึงมีเกี่ยวกับการขับไล่วิญญาณสิ่งชั่วร้ายหลากหลายรูปแบบ

 

 

                เหล้าสงหวง (雄黄酒)

                ในเทศกาลนี้คนในครอบครัวจะร่วมกันดื่มเหล้าสงหวง เหล้าสงหวงจะมีสรรพคุณในการขับพิษ แก้อาการบวม ขับความร้อนในร่างกาย และเกี่ยวกับประเพณีความเชื่อที่ว่า “ดื่มเหล้าสงหวงแล้วโรคร้ายต่างๆ ก็จะหายไป” บ้างยังมีคน นำเหล้าสงหวงมาราดตามรอบๆ บ้านเพื่อกันงูหรือสัตว์มีพิษต่างๆ เข้ามายังบ้าน บ้างก็นำเหล้าสงหวงไปเขียนคำว่า “หวัง” (王 แปลว่า กษัตริย์) บนหน้าผากของเด็ก

 

 

                เสียบต้นชังผูและไป๋ไอ้

                ชังผู (菖蒲)มีสรรพคุณทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า และฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ส่วนไป๋ไอ้ (白艾)มีสรรพคุณขับไล่ความชื้นและความหนาวเย็น ขับเสมหะบรรเทาอาการแผลไฟไหม้ อีกทั้งยังขับไล่ยุงและแมลงต่างๆ ได้อีก พอถึงเทศกาลขนมจ้าง ชาวบ้านจะนำพืช 2 ชนิดนี้มาเสียบไว้ตรงประตูหน้าบ้าน เพื่อใช้ขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลาย ส่วนเด็กๆ ก็จะแขวนถุงหอมที่ใส่หญ้าหลินจือ

 

 

            ความเป็นมาของการกินขนมจ้าง(粽子)และการแข่งเรือมังกร(龙舟)

                ชาวจีนจะเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ด้วยการกินขนมจ้างและแข่งเรือมังกร มีตำนานเล่าว่า การกินขนมจ้างและการแข่งเรือมังกรนั้น มีขึ้นเพื่อระลึกถึงนักกวีผู้รักชาติกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย นามว่า ชวีหยวน (屈原)

 

            ชวีหยวนเป็นชาวรัฐฉู่ ในยุคจ้านกั๋ว ทำหน้าที่ช่วยเหลือรัฐในการบริหารปกครองประเทศ แต่เขากลับถูกใส่ร้ายป้ายสีจนถูกเนรเทศออกนอกรัฐ ต่อมา เขาได้ข่าวว่าเมืองหลวงของรัฐฉู่ได้ถูกรัฐฉินโจมตี ด้วยความเสียใจเขาจึงกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย หลังจากที่ชาวบ้านทราบข่าว ต่างพากันพายเรือไปช่วยชีวิต แต่ร่างของเขาได้จมลงน้ำไปแล้ว ชาวบ้านกลัวว่าร่างของเขาจะถูกปลากิน ด้วยเหตุนี้ จึงพากันนำขนมชนิดหนึ่งซึ่งทำจากข้าวห่อด้วยใบไผ่โยนลงไปในน้ำเพื่อให้ปลากิน หลังจากนั้น จึงเกิดเป็นประเพณี การกินขนมจ้างและการแข่งเรือมังกรขึ้นมา และการแข่งเรือมังกรนั้นได้แพร่หลายและโด่งดังมากในหลายประเทศ

 

 

 

                ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 (ตามปฏิทินจันทรคติ) เนื่องมาจากว่าช่วงเดือนห้าอยู่ในระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ทำให้มีอากาศค่อนข้างร้อนผู้คนจึงไม่สบายกันได้ง่ายมาก ดังนั้น เดือนห้าจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เดือนพิษ” หรือ “เดือนแห่งความเลวร้าย” เพราะเหตุนี้ในเดือนห้าจึงมีเกี่ยวกับการขับไล่วิญญาณสิ่งชั่วร้ายหลากหลายรูปแบบ

 

 

                เหล้าสงหวง (雄黄酒)

                ในเทศกาลนี้คนในครอบครัวจะร่วมกันดื่มเหล้าสงหวง เหล้าสงหวงจะมีสรรพคุณในการขับพิษ แก้อาการบวม ขับความร้อนในร่างกาย และเกี่ยวกับประเพณีความเชื่อที่ว่า “ดื่มเหล้าสงหวงแล้วโรคร้ายต่างๆ ก็จะหายไป” บ้างยังมีคน นำเหล้าสงหวงมาราดตามรอบๆ บ้านเพื่อกันงูหรือสัตว์มีพิษต่างๆ เข้ามายังบ้าน บ้างก็นำเหล้าสงหวงไปเขียนคำว่า “หวัง” (王 แปลว่า กษัตริย์) บนหน้าผากของเด็ก

 

 

                เสียบต้นชังผูและไป๋ไอ้

                ชังผู (菖蒲)มีสรรพคุณทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า และฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ส่วนไป๋ไอ้ (白艾)มีสรรพคุณขับไล่ความชื้นและความหนาวเย็น ขับเสมหะบรรเทาอาการแผลไฟไหม้ อีกทั้งยังขับไล่ยุงและแมลงต่างๆ ได้อีก พอถึงเทศกาลขนมจ้าง ชาวบ้านจะนำพืช 2 ชนิดนี้มาเสียบไว้ตรงประตูหน้าบ้าน เพื่อใช้ขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลาย ส่วนเด็กๆ ก็จะแขวนถุงหอมที่ใส่หญ้าหลินจือ

 

 

            ความเป็นมาของการกินขนมจ้าง(粽子)และการแข่งเรือมังกร(龙舟)

                ชาวจีนจะเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ด้วยการกินขนมจ้างและแข่งเรือมังกร มีตำนานเล่าว่า การกินขนมจ้างและการแข่งเรือมังกรนั้น มีขึ้นเพื่อระลึกถึงนักกวีผู้รักชาติกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย นามว่า ชวีหยวน (屈原)

 

            ชวีหยวนเป็นชาวรัฐฉู่ ในยุคจ้านกั๋ว ทำหน้าที่ช่วยเหลือรัฐในการบริหารปกครองประเทศ แต่เขากลับถูกใส่ร้ายป้ายสีจนถูกเนรเทศออกนอกรัฐ ต่อมา เขาได้ข่าวว่าเมืองหลวงของรัฐฉู่ได้ถูกรัฐฉินโจมตี ด้วยความเสียใจเขาจึงกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย หลังจากที่ชาวบ้านทราบข่าว ต่างพากันพายเรือไปช่วยชีวิต แต่ร่างของเขาได้จมลงน้ำไปแล้ว ชาวบ้านกลัวว่าร่างของเขาจะถูกปลากิน ด้วยเหตุนี้ จึงพากันนำขนมชนิดหนึ่งซึ่งทำจากข้าวห่อด้วยใบไผ่โยนลงไปในน้ำเพื่อให้ปลากิน หลังจากนั้น จึงเกิดเป็นประเพณี การกินขนมจ้างและการแข่งเรือมังกรขึ้นมา และการแข่งเรือมังกรนั้นได้แพร่หลายและโด่งดังมากในหลายประเทศ

 

 

                ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 (ตามปฏิทินจันทรคติ) เนื่องมาจากว่าช่วงเดือนห้าอยู่ในระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ทำให้มีอากาศค่อนข้างร้อนผู้คนจึงไม่สบายกันได้ง่ายมาก ดังนั้น เดือนห้าจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เดือนพิษ” หรือ “เดือนแห่งความเลวร้าย” เพราะเหตุนี้ในเดือนห้าจึงมีเกี่ยวกับการขับไล่วิญญาณสิ่งชั่วร้ายหลากหลายรูปแบบ

 

 

        เหล้าสงหวง (雄黄酒)

                ในเทศกาลนี้คนในครอบครัวจะร่วมกันดื่มเหล้าสงหวง เหล้าสงหวงจะมีสรรพคุณในการขับพิษ แก้อาการบวม ขับความร้อนในร่างกาย และเกี่ยวกับประเพณีความเชื่อที่ว่า “ดื่มเหล้าสงหวงแล้วโรคร้ายต่างๆ ก็จะหายไป” บ้างยังมีคน นำเหล้าสงหวงมาราดตามรอบๆ บ้านเพื่อกันงูหรือสัตว์มีพิษต่างๆ เข้ามายังบ้าน บ้างก็นำเหล้าสงหวงไปเขียนคำว่า “หวัง” (王 แปลว่า กษัตริย์) บนหน้าผากของเด็ก

 

 

          เสียบต้นชังผูและไป๋ไอ้

                ชังผู (菖蒲)มีสรรพคุณทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า และฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ส่วนไป๋ไอ้ (白艾)มีสรรพคุณขับไล่ความชื้นและความหนาวเย็น ขับเสมหะบรรเทาอาการแผลไฟไหม้ อีกทั้งยังขับไล่ยุงและแมลงต่างๆ ได้อีก พอถึงเทศกาลขนมจ้าง ชาวบ้านจะนำพืช 2 ชนิดนี้มาเสียบไว้ตรงประตูหน้าบ้าน เพื่อใช้ขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลาย ส่วนเด็กๆ ก็จะแขวนถุงหอมที่ใส่หญ้าหลินจือ

 

 

            ความเป็นมาของการกินขนมจ้าง(粽子)และการแข่งเรือมังกร(龙舟)

                ชาวจีนจะเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ด้วยการกินขนมจ้างและแข่งเรือมังกร มีตำนานเล่าว่า การกินขนมจ้างและการแข่งเรือมังกรนั้น มีขึ้นเพื่อระลึกถึงนักกวีผู้รักชาติกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย นามว่า ชวีหยวน (屈原)

 

            ชวีหยวนเป็นชาวรัฐฉู่ ในยุคจ้านกั๋ว ทำหน้าที่ช่วยเหลือรัฐในการบริหารปกครองประเทศ แต่เขากลับถูกใส่ร้ายป้ายสีจนถูกเนรเทศออกนอกรัฐ ต่อมา เขาได้ข่าวว่าเมืองหลวงของรัฐฉู่ได้ถูกรัฐฉินโจมตี ด้วยความเสียใจเขาจึงกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย หลังจากที่ชาวบ้านทราบข่าว ต่างพากันพายเรือไปช่วยชีวิต แต่ร่างของเขาได้จมลงน้ำไปแล้ว ชาวบ้านกลัวว่าร่างของเขาจะถูกปลากิน ด้วยเหตุนี้ จึงพากันนำขนมชนิดหนึ่งซึ่งทำจากข้าวห่อด้วยใบไผ่โยนลงไปในน้ำเพื่อให้ปลากิน หลังจากนั้น จึงเกิดเป็นประเพณี การกินขนมจ้างและการแข่งเรือมังกรขึ้นมา และการแข่งเรือมังกรนั้นได้แพร่หลายและโด่งดังมากในหลายประเทศ