冬至 | เทศกาลบัวลอย 冬至 | เทศกาลบัวลอย 冬至 | เทศกาลบัวลอย

เทศกาลตงจื้อ

            คำกล่าวว่า “เทศกาลตงจื้อยิ่งใหญ่” (冬至大如年) เป็นการย้ำแสดงให้เห็นถึง ความสำคัญของเทศกาลตงจื้อ มีบางคนเข้าใจว่า “ตงจื้อ” (冬至)หมายถึง “ฤดูหนาวได้มาถึงแล้ว” แต่แท้จริงแล้ว “ตงจื้อ” ในที่นี้คือวันที่พระอาทิตย์โคจรผ่านจุดใต้สุดของเส้นศูนย์สูตรในขั้วโลกเหนือ ในวันนี้กลางวันจะสั้นที่สุดและกลางคืนจะยาวที่สุดในรอบปี แต่ขั้วโลกใต้จะมีปรากฏการณ์ที่ตรงข้ามกัน

            ในเทศกาลปีใหม่ผู้คนก็จะออกไปเยี่ยมคารวะปีใหม่กัน ในสมัยโบราณนั้นเมื่อถึงเทศกาลตงจื้อผู้คนก็จะพากันออกไปเยี่ยมคารวะด้วยเช่นกัน บ้างก็มีการจุดธูปไหว้สักการะตั้งแต่เช้ามืด บางร้านค้าจะหยุดทำการ 1 วัน ในวันนี้มีการทานอาหารเฉลิมฉลองเทศกาลด้วยซึ่งจะปฏิบัติคล้ายๆกับในเทศกาลตรุษจีน ประเทศจีนสมัยก่อนนั้น เนื่องจากช่วงปลายปีจะเป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็นมาก อีกทั้งในสมัยนั้น ยารักษาโรคไม่ค่อยดีเท่าไหร่ พอถึงฤดูหนาวมีผู้คนหนาวตายกันเป็นจำนวนมาก เพราะเหตุนี้นี่เองเมื่อถึงเทศกาลตงจื้อคนในครอบครัวจึงมารวมตัวกัน แล้วทำขนมทังหยวน(汤圆)มาทานกันทั้งครอบครัวด้วยความสุข

 

 

กินขนมทังหยวน(汤圆)

            “ทุกบ้านล้วนทำขนมทังหยวนเพราะรู้ว่าพรุ่งนี้คือเทศกาลตงจื้อ” จากประโยคนี้ทำให้เห็นว่า เมื่อถึงเทศกาลตงจื้อแล้วจะขาดขนมทังหยวนไม่ได้ ขนมทังหยวนมี 2 สีคือ สีแดงและสีขาว ในหมู่คนจีนกล่าวว่า “ถ้าไม่ได้กินทังหยวนทอง (สีแดง) ถังหยวนเงิน (สีขาว) ก็จะไม่แก่เพิ่มอีก 1 ปี” (不吃金丸银丸,不长一年)การกินขนมทังหยวนจึงแฝงความหมายว่า เราจะโตขึ้นอีก 1 ปี

            เวลาจะกินขนมทังหยวนจะต้องกินเป็นคู่ เพื่อความเป็นมงคล เมื่อกินหมดแล้ว สำหรับคนที่แต่งงานแล้วถ้าในชามเหลือ 2 ลูกจะหมายถึง สมปรารถนาทุกประการ ถ้าคนที่ยังไม่ได้แต่งงานเหลือขนมในจาน 1 ลูกจะหมายถึง ตลอดทั้งปีไม่ว่าจะเรื่องราวใดก็จะสำเร็จลุล่วง

 

 

เทศกาลแห่งฤดูกาล

 

            เทศกาลตงจื้อเป็นหนึ่งใน 24 ปักษ์แห่งวงโคจรตามหลักของคนจีนโบราณ ใน 1 ปีเขาแบ่งช่วงแห่งฤดูกาลได้เป็น 24 ช่วง ตามวงโคจรของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศและปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งเกี่ยวพันกับการเกษตรกรรมนี้ ความเป็นจริงแล้ว เกิดจากการหมุนรอบของดวงอาทิตย์ที่โคจรรอบโลกในตำแหน่งที่แตกต่างกัน สามารถแข่งตามลำดับได้ดังนี้

 

 

 

คำเรียก

ความหมาย

คำเรียก

ความหมาย

立春 / lìchūn

แรกเริ่มใบไม้ผลิ

雨水 / yǔshuǐ

เริ่มฝนพรำ

惊蛰 / jīngzhé

แมลงตื่น

春分 / chūnfēn

ใบไม้ผลิกลางวันยาวเท่ากลางคืน

清明 / qīngmíng

วันฟ้าใส

谷雨 / gǔyǔ

หน้าฝนข้าว

立夏 / lìxià

แรกเริ่มหน้าร้อน

小满 / xiǎomǎn

ข้าวรวงน้อย

芒种 / mángzhòng

หนวดรวงข้าว

夏至 / xiàzhì

หน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน

小暑 / xiǎoshǔ

ร้อนน้อย

大暑 / dàshǔ

ร้อนมาก

立秋 / lìqiū

แรกเริ่มใบไม้ร่วง

处暑 / chùshǔ

สิ้นสุดหน้าร้อน

白露 / báilù

น้ำค้างขาว

秋分 / qiūfēn

ใบไม้ร่วงกลางวันยาวเท่ากลางคืน

寒露 / hánlù

หนาวน้ำค้าง

霜降 / shuāngjiàng

น้ำค้างแข็ง

立冬 / lìdōng

แรกเริ่มหนาว

小雪 / xiǎoxuě

หิมะน้อย

大雪 / dàxuě

หิมะหนัก

冬至 / dōngzhì

หน้าหนาวกลางคืนยาวกว่ากลางวัน

小寒 / xiǎohán

หนาวน้อย

大寒 / dàhán

หนาวมาก

 

            สุภาษิตจีนกล่าวว่า “ปลูกข้าวให้ดูช่วงเวลาของดวงอาทิตย์” (种田春节气)สะท้อนให้เห็นว่าสังคมเกษตรกรรมในอดีตล้วนแต่มีกิจกรรมทางการเกษตรกรรมต่างๆมากมายและเป็นไปตามรอบฤดูกาลใน 24 ปักษ์นี้

 

 

credit: ประตูสู่วัฒนธรรมจีน 

เทศกาลตงจื้อ

            คำกล่าวว่า “เทศกาลตงจื้อยิ่งใหญ่” (冬至大如年) เป็นการย้ำแสดงให้เห็นถึง ความสำคัญของเทศกาลตงจื้อ มีบางคนเข้าใจว่า “ตงจื้อ” (冬至)หมายถึง “ฤดูหนาวได้มาถึงแล้ว” แต่แท้จริงแล้ว “ตงจื้อ” ในที่นี้คือวันที่พระอาทิตย์โคจรผ่านจุดใต้สุดของเส้นศูนย์สูตรในขั้วโลกเหนือ ในวันนี้กลางวันจะสั้นที่สุดและกลางคืนจะยาวที่สุดในรอบปี แต่ขั้วโลกใต้จะมีปรากฏการณ์ที่ตรงข้ามกัน

            ในเทศกาลปีใหม่ผู้คนก็จะออกไปเยี่ยมคารวะปีใหม่กัน ในสมัยโบราณนั้นเมื่อถึงเทศกาลตงจื้อผู้คนก็จะพากันออกไปเยี่ยมคารวะด้วยเช่นกัน บ้างก็มีการจุดธูปไหว้สักการะตั้งแต่เช้ามืด บางร้านค้าจะหยุดทำการ 1 วัน ในวันนี้มีการทานอาหารเฉลิมฉลองเทศกาลด้วยซึ่งจะปฏิบัติคล้ายๆกับในเทศกาลตรุษจีน ประเทศจีนสมัยก่อนนั้น เนื่องจากช่วงปลายปีจะเป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็นมาก อีกทั้งในสมัยนั้น ยารักษาโรคไม่ค่อยดีเท่าไหร่ พอถึงฤดูหนาวมีผู้คนหนาวตายกันเป็นจำนวนมาก เพราะเหตุนี้นี่เองเมื่อถึงเทศกาลตงจื้อคนในครอบครัวจึงมารวมตัวกัน แล้วทำขนมทังหยวน(汤圆)มาทานกันทั้งครอบครัวด้วยความสุข

 

 

กินขนมทังหยวน(汤圆)

            “ทุกบ้านล้วนทำขนมทังหยวนเพราะรู้ว่าพรุ่งนี้คือเทศกาลตงจื้อ” จากประโยคนี้ทำให้เห็นว่า เมื่อถึงเทศกาลตงจื้อแล้วจะขาดขนมทังหยวนไม่ได้ ขนมทังหยวนมี 2 สีคือ สีแดงและสีขาว ในหมู่คนจีนกล่าวว่า “ถ้าไม่ได้กินทังหยวนทอง (สีแดง) ถังหยวนเงิน (สีขาว) ก็จะไม่แก่เพิ่มอีก 1 ปี” (不吃金丸银丸,不长一年)การกินขนมทังหยวนจึงแฝงความหมายว่า เราจะโตขึ้นอีก 1 ปี

            เวลาจะกินขนมทังหยวนจะต้องกินเป็นคู่ เพื่อความเป็นมงคล เมื่อกินหมดแล้ว สำหรับคนที่แต่งงานแล้วถ้าในชามเหลือ 2 ลูกจะหมายถึง สมปรารถนาทุกประการ ถ้าคนที่ยังไม่ได้แต่งงานเหลือขนมในจาน 1 ลูกจะหมายถึง ตลอดทั้งปีไม่ว่าจะเรื่องราวใดก็จะสำเร็จลุล่วง

 

 

เทศกาลแห่งฤดูกาล

 

            เทศกาลตงจื้อเป็นหนึ่งใน 24 ปักษ์แห่งวงโคจรตามหลักของคนจีนโบราณ ใน 1 ปีเขาแบ่งช่วงแห่งฤดูกาลได้เป็น 24 ช่วง ตามวงโคจรของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศและปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งเกี่ยวพันกับการเกษตรกรรมนี้ ความเป็นจริงแล้ว เกิดจากการหมุนรอบของดวงอาทิตย์ที่โคจรรอบโลกในตำแหน่งที่แตกต่างกัน สามารถแข่งตามลำดับได้ดังนี้

   

คำเรียก

ความหมาย

คำเรียก

ความหมาย

立春 / lìchūn

แรกเริ่มใบไม้ผลิ

雨水 / yǔshuǐ

เริ่มฝนพรำ

惊蛰 / jīngzhé

แมลงตื่น

春分 / chūnfēn

ใบไม้ผลิกลางวันยาวเท่ากลางคืน

清明 / qīngmíng

วันฟ้าใส

谷雨 / gǔyǔ

หน้าฝนข้าว

立夏 / lìxià

แรกเริ่มหน้าร้อน

小满 / xiǎomǎn

ข้าวรวงน้อย

芒种 / mángzhòng

หนวดรวงข้าว

夏至 / xiàzhì

หน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน

小暑 / xiǎoshǔ

ร้อนน้อย

大暑 / dàshǔ

ร้อนมาก

立秋 / lìqiū

แรกเริ่มใบไม้ร่วง

处暑 / chùshǔ

สิ้นสุดหน้าร้อน

白露 / báilù

น้ำค้างขาว

秋分 / qiūfēn

ใบไม้ร่วงกลางวันยาวเท่ากลางคืน

寒露 / hánlù

หนาวน้ำค้าง

霜降 / shuāngjiàng

น้ำค้างแข็ง

立冬 / lìdōng

แรกเริ่มหนาว

小雪 / xiǎoxuě

หิมะน้อย

大雪 / dàxuě

หิมะหนัก

冬至 / dōngzhì

หน้าหนาวกลางคืนยาวกว่ากลางวัน

小寒 / xiǎohán

หนาวน้อย

大寒 / dàhán

หนาวมาก

 

            สุภาษิตจีนกล่าวว่า “ปลูกข้าวให้ดูช่วงเวลาของดวงอาทิตย์” (种田春节气)สะท้อนให้เห็นว่าสังคมเกษตรกรรมในอดีตล้วนแต่มีกิจกรรมทางการเกษตรกรรมต่างๆมากมายและเป็นไปตามรอบฤดูกาลใน 24 ปักษ์นี้

 

 

 

credit: ประตูสู่วัฒนธรรมจีน 

เทศกาลตงจื้อ

            คำกล่าวว่า “เทศกาลตงจื้อยิ่งใหญ่” (冬至大如年) เป็นการย้ำแสดงให้เห็นถึง ความสำคัญของเทศกาลตงจื้อ มีบางคนเข้าใจว่า “ตงจื้อ” (冬至)หมายถึง “ฤดูหนาวได้มาถึงแล้ว” แต่แท้จริงแล้ว “ตงจื้อ” ในที่นี้คือวันที่พระอาทิตย์โคจรผ่านจุดใต้สุดของเส้นศูนย์สูตรในขั้วโลกเหนือ ในวันนี้กลางวันจะสั้นที่สุดและกลางคืนจะยาวที่สุดในรอบปี แต่ขั้วโลกใต้จะมีปรากฏการณ์ที่ตรงข้ามกัน

            ในเทศกาลปีใหม่ผู้คนก็จะออกไปเยี่ยมคารวะปีใหม่กัน ในสมัยโบราณนั้นเมื่อถึงเทศกาลตงจื้อผู้คนก็จะพากันออกไปเยี่ยมคารวะด้วยเช่นกัน บ้างก็มีการจุดธูปไหว้สักการะตั้งแต่เช้ามืด บางร้านค้าจะหยุดทำการ 1 วัน ในวันนี้มีการทานอาหารเฉลิมฉลองเทศกาลด้วยซึ่งจะปฏิบัติคล้ายๆกับในเทศกาลตรุษจีน ประเทศจีนสมัยก่อนนั้น เนื่องจากช่วงปลายปีจะเป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็นมาก อีกทั้งในสมัยนั้น ยารักษาโรคไม่ค่อยดีเท่าไหร่ พอถึงฤดูหนาวมีผู้คนหนาวตายกันเป็นจำนวนมาก เพราะเหตุนี้นี่เองเมื่อถึงเทศกาลตงจื้อคนในครอบครัวจึงมารวมตัวกัน แล้วทำขนมทังหยวน(汤圆)มาทานกันทั้งครอบครัวด้วยความสุข

 

 

กินขนมทังหยวน(汤圆)

            “ทุกบ้านล้วนทำขนมทังหยวนเพราะรู้ว่าพรุ่งนี้คือเทศกาลตงจื้อ” จากประโยคนี้ทำให้เห็นว่า เมื่อถึงเทศกาลตงจื้อแล้วจะขาดขนมทังหยวนไม่ได้ ขนมทังหยวนมี 2 สีคือ สีแดงและสีขาว ในหมู่คนจีนกล่าวว่า “ถ้าไม่ได้กินทังหยวนทอง (สีแดง) ถังหยวนเงิน (สีขาว) ก็จะไม่แก่เพิ่มอีก 1 ปี” (不吃金丸银丸,不长一年)การกินขนมทังหยวนจึงแฝงความหมายว่า เราจะโตขึ้นอีก 1 ปี

            เวลาจะกินขนมทังหยวนจะต้องกินเป็นคู่ เพื่อความเป็นมงคล เมื่อกินหมดแล้ว สำหรับคนที่แต่งงานแล้วถ้าในชามเหลือ 2 ลูกจะหมายถึง สมปรารถนาทุกประการ ถ้าคนที่ยังไม่ได้แต่งงานเหลือขนมในจาน 1 ลูกจะหมายถึง ตลอดทั้งปีไม่ว่าจะเรื่องราวใดก็จะสำเร็จลุล่วง

 

เทศกาลแห่งฤดูกาล

 

            เทศกาลตงจื้อเป็นหนึ่งใน 24 ปักษ์แห่งวงโคจรตามหลักของคนจีนโบราณ ใน 1 ปีเขาแบ่งช่วงแห่งฤดูกาลได้เป็น 24 ช่วง ตามวงโคจรของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศและปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งเกี่ยวพันกับการเกษตรกรรมนี้ ความเป็นจริงแล้ว เกิดจากการหมุนรอบของดวงอาทิตย์ที่โคจรรอบโลกในตำแหน่งที่แตกต่างกัน สามารถแข่งตามลำดับได้ดังนี้

    

คำเรียก

ความหมาย

คำเรียก

ความหมาย

立春 / lìchūn

แรกเริ่มใบไม้ผลิ

雨水 / yǔshuǐ

เริ่มฝนพรำ

惊蛰 / jīngzhé

แมลงตื่น

春分 / chūnfēn

ใบไม้ผลิกลางวันยาวเท่ากลางคืน

清明 / qīngmíng

วันฟ้าใส

谷雨 / gǔyǔ

หน้าฝนข้าว

立夏 / lìxià

แรกเริ่มหน้าร้อน

小满 / xiǎomǎn

ข้าวรวงน้อย

芒种 / mángzhòng

หนวดรวงข้าว

夏至 / xiàzhì

หน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน

小暑 / xiǎoshǔ

ร้อนน้อย

大暑 / dàshǔ

ร้อนมาก

立秋 / lìqiū

แรกเริ่มใบไม้ร่วง

处暑 / chùshǔ

สิ้นสุดหน้าร้อน

白露 / báilù

น้ำค้างขาว

秋分 / qiūfēn

ใบไม้ร่วงกลางวันยาวเท่ากลางคืน

寒露 / hánlù

หนาวน้ำค้าง

霜降 / shuāngjiàng

น้ำค้างแข็ง

立冬 / lìdōng

แรกเริ่มหนาว

小雪 / xiǎoxuě

หิมะน้อย

大雪 / dàxuě

หิมะหนัก

冬至 / dōngzhì

หน้าหนาวกลางคืนยาวกว่ากลางวัน

小寒 / xiǎohán

หนาวน้อย

大寒 / dàhán

หนาวมาก

  

            สุภาษิตจีนกล่าวว่า “ปลูกข้าวให้ดูช่วงเวลาของดวงอาทิตย์” (种田春节气)สะท้อนให้เห็นว่าสังคมเกษตรกรรมในอดีตล้วนแต่มีกิจกรรมทางการเกษตรกรรมต่างๆมากมายและเป็นไปตามรอบฤดูกาลใน 24 ปักษ์นี้

 

credit: ประตูสู่วัฒนธรรมจีน