中元节 | วันสาร์ทจีน 中元节 | วันสาร์ทจีน 中元节 | วันสาร์ทจีน

 เทศกาลจงหยวน

            ทุกๆ วันที่ 15 ของเดือน 1 เดือน 7 และเดือน 10 (ตามปฏิทินจันทรคติ) หากกล่าวถึงทั้ง 3 วันนี้ด้วยกันแล้วจะเรียกว่า “ซานหยวน” (三元)

 

            เทศกาลจงหยวน (中元)เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เทศกาลภูตผีปีศาจ” (鬼节)ตามประเพณีเชื่อว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 31 เดือน 7 จะเป็นวันที่ประตูนรกเปิดให้ผีที่หิวโหยออกมาบนโลกมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ในเดือน 7 จึงมีกิจกรรมเกี่ยวกับการสักการบูชาต่างๆ มากมายโดยทั่วไปเรียกว่า “ผู่ตู้” (普渡)ซึ่งหมายถึง การโปรดผีไร้ญาติของผีเร่ร่อน

            หลังจากที่ศาสนาพุทธได้เผยแพร่เข้ามายังประเทศจีนแล้ว เทศกาลนี้ก็เริ่มมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธมากขึ้น และได้เกิดเป็น “เทศกาลอวี๋หลานเผินเจี๋ย” (盂兰盆节)

 

            คำว่า “อวี๋หลาน” (盂兰)แปลทับศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ซึ่งหมายถึง “การแขวนแบบกลับหัวกลับหาง” แต่คำว่า “เผิน” (盆)หมายถึง ภาชนะที่ใช้ใส่สิ่งของที่ทำถวาย ตามตำนานเล่าว่า จุดกำเนิดของเทศกาลนี้มาจากเหตุการณ์ที่มู่เจียนเหลียน (พระโมคคัลลานะ) (目犍莲) สานุศิษย์ของพระพุทธเจ้าช่วยมารดาของเขา

            ด้วยเหตุนี้เทศกาลจงหยวนจึงเป็นเทศกาลที่สำคัญที่ใช้แสดงถึงความกตัญญูต่อบิดามารดา ซึ่งถ้าในเทศกาลเชงเม้งลูกหลานที่อยู่ในต่างแดนไม่สามารถกลับมาทำความสะอาดสุสานเพื่อแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษได้ พวกเขาก็จะใช้เทศกาลนี้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาหรือบรรพบุรุษแทน

 

 

เทพนิยาย “มู่เจียนเหลียนช่วยมารดาของตน”

            หลังจากที่มารดาของมู่เจียนเหลียนเสียชีวิต นางได้ถูกลงโทษให้ไปอยู่ในเมืองนรก อาหารของเธอที่มีคนส่งมาให้ ถูกภูตผีปีศาจตัวอื่นแย่งไปกินหมด หลังจากที่มู่เจียนเหลียนฝึกฝนจนบรรลุถึงขั้นที่สามารถมองเห็นมารดาตนเองที่อยู่ในนรกได้ มู่เจียนเหลียนพยายามส่งอาหารให้มารดา แต่พออาหารเหล่านั้นถึงมือมารดา อาหารเหล่านั้นก็สลายกลายเป็นเถ้าธุลี

            พนะพุทธเจ้าจึงทรงบอกกับมู่เจียนเหลียนว่า ในช่วงวัน 7 เดือน 7 ให้เขานำอาหารไปถวายให้แก่ภูตผีปีศาจทั้งหลาย เพื่อภูตผีปีศาจเหล่านั้นจะได้ไม่มาแย่งเอาอาหารของมารดาของเขา

 เทศกาลจงหยวน

            ทุกๆ วันที่ 15 ของเดือน 1 เดือน 7 และเดือน 10 (ตามปฏิทินจันทรคติ) หากกล่าวถึงทั้ง 3 วันนี้ด้วยกันแล้วจะเรียกว่า “ซานหยวน” (三元)

 

            เทศกาลจงหยวน (中元)เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เทศกาลภูตผีปีศาจ” (鬼节)ตามประเพณีเชื่อว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 31 เดือน 7 จะเป็นวันที่ประตูนรกเปิดให้ผีที่หิวโหยออกมาบนโลกมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ในเดือน 7 จึงมีกิจกรรมเกี่ยวกับการสักการบูชาต่างๆ มากมายโดยทั่วไปเรียกว่า “ผู่ตู้” (普渡)ซึ่งหมายถึง การโปรดผีไร้ญาติของผีเร่ร่อน

            หลังจากที่ศาสนาพุทธได้เผยแพร่เข้ามายังประเทศจีนแล้ว เทศกาลนี้ก็เริ่มมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธมากขึ้น และได้เกิดเป็น “เทศกาลอวี๋หลานเผินเจี๋ย” (盂兰盆节)

 

            คำว่า “อวี๋หลาน” (盂兰)แปลทับศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ซึ่งหมายถึง “การแขวนแบบกลับหัวกลับหาง” แต่คำว่า “เผิน” (盆)หมายถึง ภาชนะที่ใช้ใส่สิ่งของที่ทำถวาย ตามตำนานเล่าว่า จุดกำเนิดของเทศกาลนี้มาจากเหตุการณ์ที่มู่เจียนเหลียน (พระโมคคัลลานะ) (目犍莲) สานุศิษย์ของพระพุทธเจ้าช่วยมารดาของเขา

            ด้วยเหตุนี้เทศกาลจงหยวนจึงเป็นเทศกาลที่สำคัญที่ใช้แสดงถึงความกตัญญูต่อบิดามารดา ซึ่งถ้าในเทศกาลเชงเม้งลูกหลานที่อยู่ในต่างแดนไม่สามารถกลับมาทำความสะอาดสุสานเพื่อแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษได้ พวกเขาก็จะใช้เทศกาลนี้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาหรือบรรพบุรุษแทน

 

 

เทพนิยาย “มู่เจียนเหลียนช่วยมารดาของตน”

            หลังจากที่มารดาของมู่เจียนเหลียนเสียชีวิต นางได้ถูกลงโทษให้ไปอยู่ในเมืองนรก อาหารของเธอที่มีคนส่งมาให้ ถูกภูตผีปีศาจตัวอื่นแย่งไปกินหมด หลังจากที่มู่เจียนเหลียนฝึกฝนจนบรรลุถึงขั้นที่สามารถมองเห็นมารดาตนเองที่อยู่ในนรกได้ มู่เจียนเหลียนพยายามส่งอาหารให้มารดา แต่พออาหารเหล่านั้นถึงมือมารดา อาหารเหล่านั้นก็สลายกลายเป็นเถ้าธุลี

            พนะพุทธเจ้าจึงทรงบอกกับมู่เจียนเหลียนว่า ในช่วงวัน 7 เดือน 7 ให้เขานำอาหารไปถวายให้แก่ภูตผีปีศาจทั้งหลาย เพื่อภูตผีปีศาจเหล่านั้นจะได้ไม่มาแย่งเอาอาหารของมารดาของเขา

 เทศกาลจงหยวน

            ทุกๆ วันที่ 15 ของเดือน 1 เดือน 7 และเดือน 10 (ตามปฏิทินจันทรคติ) หากกล่าวถึงทั้ง 3 วันนี้ด้วยกันแล้วจะเรียกว่า “ซานหยวน” (三元)

 

            เทศกาลจงหยวน (中元)เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เทศกาลภูตผีปีศาจ” (鬼节)ตามประเพณีเชื่อว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 31 เดือน 7 จะเป็นวันที่ประตูนรกเปิดให้ผีที่หิวโหยออกมาบนโลกมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ในเดือน 7 จึงมีกิจกรรมเกี่ยวกับการสักการบูชาต่างๆ มากมายโดยทั่วไปเรียกว่า “ผู่ตู้” (普渡)ซึ่งหมายถึง การโปรดผีไร้ญาติของผีเร่ร่อน

            หลังจากที่ศาสนาพุทธได้เผยแพร่เข้ามายังประเทศจีนแล้ว เทศกาลนี้ก็เริ่มมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธมากขึ้น และได้เกิดเป็น “เทศกาลอวี๋หลานเผินเจี๋ย” (盂兰盆节)

 

            คำว่า “อวี๋หลาน” (盂兰)แปลทับศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ซึ่งหมายถึง “การแขวนแบบกลับหัวกลับหาง” แต่คำว่า “เผิน” (盆)หมายถึง ภาชนะที่ใช้ใส่สิ่งของที่ทำถวาย ตามตำนานเล่าว่า จุดกำเนิดของเทศกาลนี้มาจากเหตุการณ์ที่มู่เจียนเหลียน (พระโมคคัลลานะ) (目犍莲) สานุศิษย์ของพระพุทธเจ้าช่วยมารดาของเขา

            ด้วยเหตุนี้เทศกาลจงหยวนจึงเป็นเทศกาลที่สำคัญที่ใช้แสดงถึงความกตัญญูต่อบิดามารดา ซึ่งถ้าในเทศกาลเชงเม้งลูกหลานที่อยู่ในต่างแดนไม่สามารถกลับมาทำความสะอาดสุสานเพื่อแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษได้ พวกเขาก็จะใช้เทศกาลนี้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาหรือบรรพบุรุษแทน

 

 

เทพนิยาย “มู่เจียนเหลียนช่วยมารดาของตน”

            หลังจากที่มารดาของมู่เจียนเหลียนเสียชีวิต นางได้ถูกลงโทษให้ไปอยู่ในเมืองนรก อาหารของเธอที่มีคนส่งมาให้ ถูกภูตผีปีศาจตัวอื่นแย่งไปกินหมด หลังจากที่มู่เจียนเหลียนฝึกฝนจนบรรลุถึงขั้นที่สามารถมองเห็นมารดาตนเองที่อยู่ในนรกได้ มู่เจียนเหลียนพยายามส่งอาหารให้มารดา แต่พออาหารเหล่านั้นถึงมือมารดา อาหารเหล่านั้นก็สลายกลายเป็นเถ้าธุลี

            พนะพุทธเจ้าจึงทรงบอกกับมู่เจียนเหลียนว่า ในช่วงวัน 7 เดือน 7 ให้เขานำอาหารไปถวายให้แก่ภูตผีปีศาจทั้งหลาย เพื่อภูตผีปีศาจเหล่านั้นจะได้ไม่มาแย่งเอาอาหารของมารดาของเขา